วัตถุดิบ ที่ใช้ในงานเซรามิก

เซรามิกที่ใช้กันในงานต่างๆ นั้นเป็นเครื่องมือที่มักจะมีการผลิตมาจากวัสดุต่างๆ กันออกไป เช่น วัสดุประเภทดิน หินฟันม้า หินควอทซ์ และทราย เป็นต้น ซึ่งนอกเหนือไปจากนี้แล้ว หินบางประเภทที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเซรามิก ก็มักจะได้รับการสังเคราะห์ให้บริสุทธิ์ ผ่านการบวนการเคมีบางอย่าง เช่น การทำอะลูมิน่า ที่มีต้นกำเนิดจากแร่บ็อกไซต์ ที่ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ เช่น แบเรียมทีตาเนต เฟอร์ไรท์ เป็นต้น ซึ่งอาจจะมีการใฝช้สารอินทรีย์บางชนิด เป็นตัวช่วยอีกด้วย

สำหรับการผลิตเซรามิก ยุคใหม่นั้น ต้องการวัตถุดิบที่มีความบริสุทธิ์สูงมาก เนื่องจากหากมีสิ่งสกปรก หรือสิ่งแปลกปลอมเพียงแค่ 1% ก็สามารถที่จะทำให้เกิดความเสียหายในเนื้องานได้แล้ว ซึ่งอาจจะเสียหายได้ถึงโครงสร้างเลยทีเดียว นอกจากนั้นแล้วการควบคุมรูปร่างของวัตถุดิบระหว่างกระบวนการ Process นั้นก็จะมีผลต่อการขึ้นรูปของผลิตภัณฑ์ได้เช่นกัน

วัตถุดิบที่นิยมนำมาใช้ทำเซรามิก

– ดินขาว เป็นดินที่นิยมนำมาใช้ทำเซรามิก เนื่องจากหาได้ง่าย และมีลักษณะเหมาะกับการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบ ในการทำเซรามิก ลักษณของดินขาว จะเป็นดินที่มีสีขาวบ้าง หรือสีจางไปจากเนื้อดินปกติบ้าง ซึ่งเราสามารถที่จะพบเห็นดินขาวได้จากบริเวณที่เป็นภูเขา หรือแหล่งเดิมของแร่หินฟันม้า (Feldspar) ทั้งนี้เมื่อแร่หินฟันม้า เกิดการผุพัง ก็จะกลายเป็นดินขาวนั่นเอง อย่างไรก็ตามก็มักจะพบกับสิ่งสกปรกที่เจือปนอยู่ด้วยเช่นกัน นั่นก็คือ ซิลิกา (สูตรเคมีคือ SiO2) ซึ่งนอกเหนือจากนี้ก็อาจจะพบได้จากแหล่งแร่หินฟันม้า ที่ยังไม่เกิดการผุพังอย่างสมบูรณ์ แต่ก็มีสิ่งสกปรกเข้าไปสะสม ทำให้เกิดเป็นดินขาวได้ง่ายขึ้น

สำหรับแหล่งของดินขาว นอกเหนือไปจากแหล่งที่กล่าวมาแล้ว ก็อาจจะพบได้ในเขตที่ราบลุ่ม ที่ถูกน้ำพัดพาไปสะสม แหล่งดินขาวในประเทศไทยนั้น พบมากในเขตจังหวัดลำปาง อุตรดิตถ์ ระนอง ปราจีนบุรี นครศรีธรรมราช เป็นต้น

– ดินดำ เป็นดินอีกประเภทหนึ่ง ที่นิยมนำมาใช้สำหรับงานเซรามิก เนื่องจากเป็นดินที่เนื้อเหนียว เมื่อขึ้นรูปและทำเป็นผลิตภัณฑ์แล้ว จะทำให้ตัวผลิตภัณฑ์ มีความแข็งแรง และทนทานอย่างมาก สำหรับดินดำ เป็นดินที่มีลักษณะของเนื้อสีดำ หรือสีขาว สีจางก็ได้(แต่ส่วนใหญ่จะมีเนื้อสีดำ) แต่เมื่อทำการเผาแล้วจะมีสีขาวเนื้อดินมีความละเอียดสูง(ความละเอียดจะขึ้นอยู่กับระยะการถูกพัดพาไปไกลเท่าใด เพราะจะเกิดการเสียดสีกันขึ้นตามธรรมชาติ ทำให้เนื้อดินมีความละเอียด)มีสารอินทรีย์บางชนิดเจือปน ทั้งนี้สำหรับการนำเนื้อดินดำมาใช้ในงานเซรามิก มีข้อดีดังต่อไปนี้

  1. สามารถทำการขึ้นรูปร่าง ของผลิตภัณฑ์ได้ดีมากขึ้น ที้งนี้เพราะว่าคุณสมบัติของเนื้อดินดำ มีความเหนียวก่อนการนำไปเผามากกว่าดินขาว
  2. ด้วยคุณสมบัติ ในเรื่องของความเหนียว การใช้ดินดำ ทำให้มีการลดความเสียหายของผลิตภัณฑ์ ก่อนกระบวนการเผา (เช่น แตก หัก) ได้ง่ายกว่าดินขาว โดยอุบัติเหตุเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นได้ระหว่างการเคลื่อนย้าย หรือการนำเข้าเตาเผา
  3. ช่วยทำให้ กระบวนการทำน้ำดิน ซึ่งเป็นกระบวนการเทแบบ มีการไหลตัวที่ดีมากขึ้น เนื่องจากความละเอียดของเนื้อดินมีสูงมาก
  4. ดินดำ บางชนิดนั้นจะมีคุณสมบัติพิเศษ ในการทำให้เกิดปฏิกิริยาของมวลสารในผลิตภัณฑ์ระหว่างกระบวนการเผา ทำให้เนื้อผลิตภัณฑ์ มีความแข็งแรง มีเนื้อแน่น และมีความเป็นเนื้อเดียวกันตลอด

อย่างไรก็ตาม การใช้ดินดำ นอกจากจะมีข้อดีแล้ว บางครั้งยังอาจจะส่งผลเสียต่อตัวผลิตภัณฑ์ได้อีกด้วย ทั้งนี้เนื่องจากว่า

– ดินดำมีสิ่งสกปรกมากเกินไป มักทำให้ความขาวของเนื้อผลิตภัณฑ์ นั้นเสียไป ซึ่งทำให้เนื้อผลิตภัณฑ์ ไม่มีความสวยงาม

– ดินดำทำให้ความโปร่งแสงของผลิตภัณฑ์น้อยลง เนื่องจากคุณสมบัติที่เป็นดินสีดำ เนื้อละเอียด

– ดินดำ มีส่วนประกอบที่ไม่แน่นอน มักมีสิ่งเจือปน ทำให้การทำน้ำดิน สำหรับการเทแบบนั้นควบคุมได้ยาก

สำหรับดินดำนั้น ส่วนใหญ่ มักจะนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ประเภท Stoneware หรือข้าวของเครื่องใช้จำพวก ครก โอ่ง ไห หม้อดิน เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์ จำพวกนี้เมื่อทำการเผาแล้วจะมีเนื้อดินที่พรุนน้อย แหล่งดินดำ ที่พบกันได้มากในประเทศไทย ได้แก่ แถบราชบุรี และปทุมธานี

 

เรื่องนี้ถูกเขียนใน ไม่มีหมวดหมู่ และติดป้ายกำกับ , , , , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร