กระบวนการทำ เซรามิก

สำหรับการทำเซรามิก ไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ประเภทไหน ก็มักจะมีขั้นตอนที่มีความยุ่งยากซับซ้อนอยู่พอสมควร นอกจากนั้นแล้วกระบวนการต่างๆ นั้นต้องอาศัยความชำนาญ และเครื่องไม้เครื่องมือที่ครบครันด้วยเช่นกัน สำหรับบทความนี้จะเป็นการสรุป ขั้นตอนมาตรฐานในการทำเซรามิก ซึ่งจะเห็นได้ว่ามีหลากหลายขั้นตอนอย่างมากเลยทีเดียว ดังนี้

  1. การเตรียมวัตถุดิบ ที่ใช้ทำผลิตภัณฑ์ ว่าต้องการจะเป็นวัตถุดิบแบบไหน ซึ่งวัตถุดิบแต่ละอย่าง จะมีความแตกต่างกันออกไปทั้งในแง่ของคุณสมบัติ และความยากง่ายในการขึ้นรูป วัตถุดิบ ที่ได้รับความนิยมมากในอุตสาหกรรมเซรามิก เช่น ดิน ทราย หินบางประเภท เป็นต้น
  2. การขึ้นรูป เมื่อทำการคัดเลือกวัตถุดิบ ในการทำผลิตภัณฑ์ เซรามิกแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการนำเอาวัตถุดิบ มาขึ้นรูปร่างต่างๆ โดยส่วนมากมักจะเป็นการเทแบบ ซึ่งการเทแบบ มีอยู่หลายลักษณะคือ

                                – การเทแบบ โดยให้น้ำดิน แข็งตัวภายในแบบ (Solid Casting) เป็นกระบวนการเทดิน ที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์ ที่มีรูปร่างแปลกๆ หรือรูปร่างไม่แน่นอน

                                – การเทแบบ โดยเทน้ำดินที่เหลือทิ้ง (Drain Casting) เป็นกระบวนการขึ้นรูป ที่เหมาะกับการทำผลิตภัณฑ์ แบบที่ต้องการความสม่ำเสมอ หรือต้องการผนังผลิตภัณฑ์ ที่บาง

– การขึ้นรูปโดยการอัดแรง เป็นกระบวนการขึ้นรูป โดยจะมีการใส่วัตถุดิบลงในแบบ โดยวัตถุดิบ จะมีความชื้นเล็กน้อย จากนั้นจะใช้อุปกรณ์พิเศษ อัดเนื้อวัตถุดิบ ลงในแบบ (แบบจะเป็นโลหะแข็ง) ซึ่งการขึ้นรูปแบบนี้ จะต้องมีการควบคุมการกระจายตัวของอนุภาคดินตามแบบให้ดี ดังนั้นกระบวนการนี้จึงเหมาะกับการทำเซรามิก แบบพิเศษ ไม่นิยมใช้ในการทำเซรามิกทั่วไป

– การขึ้นรูป โดยการใช้อัดเนื้อดินปั้นแห้งๆ เป็นกระบวนการที่คล้ายกับการอัดแรง โดยการใช้เนื้อดินปั้น อัดเข้าไปในแบบโลหะ ด้วยความแรงสูง แต่จะมีการควบคุมความชื้นในเนื้องาน ไม่ให้เกิน 4% จึงทำให้เนื้อดิน สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ แต่ไม่มีความเหนียว ทำให้ชิ้นงานสามารถรวมตัวอัดกันได้ดี การขึ้นรูปแบบนี้เหมาะกับเนื้องานเซรามิก ที่ใช้ในวงการอุตสาหกรรม

– การขึ้นรูป โดยการหลอมเหลวผลิตภัณฑ์ แล้วเทลงในแบบ การขึ้นรูปแบบนี้เป็นการขึ้นรูปสำหรับผลิตภัณฑ์จำพวกแก้ว ซึ่งจะใช้หลักการหลอมวัตถุดิบ ด้วยความร้อนสูง จากนั้นเทลงในแบบ แล้วปล่อยให้เย็นตัวลง ก็จะได้ผลิตภัณฑ์ ที่ต้องการ

– การขึ้นรูป โดยการใช้แป้นหมุน เป็นผลิตภัณฑ์ เซรามิกแบบง่ายๆ นั่นก็คือข้าวของเครื่องใช้จำพวก โอ่ง ไห หม้อดิน ฯลฯ ซึ่งการขึ้นรูปแบบนี้จะเหมาะกับเนื้องานง่ายๆ ที่เป็นข้าวของเครื่องใช้ทั่วไป

  1. การเผาครั้งแรก หรือการเผาดิบ จะเป็นกระบวนการเพิ่มความแข็งแกร่ง ให้กับเนื้อของผลิตภัณฑ์ โดยจะทำการส่งผลิตภัณฑ์เข้าเตาเผาโดยเฉพาะ แล้วจึงเร่งอุณหภูมิให้สูงขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวนั้นจะทำให้ผลิตภัณฑ์ มีการอยู่ตัวไม่แตกหักง่ายเมื่อนำไปเข้าสู่ขั้นตอนการเคลือบ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเผาดิบแล้ว บางอย่างจะสามารถนำไปใช้งานได้เลย เช่น พวกเครื่องดินเผาต่างๆ แต่บางอย่างต้องนำไปเคลือบอีกครั้ง ก่อนส่งเข้าเตาเผาอีกรอบ จึงจะสามารถนำมาใช้งานได้
  2. การเคลือบ เป็นกระบวนการนำเอาผลิตภัณฑ์ มาเคลือบสารเพิ่มความแข็งแกร่ง ให้เนื้องาน นั่นก็คือเคลือบแก้ว ที่มีลักษณะเป็นเนื้อแก้ว ที่หลอมละลายเข้ากับเนื้องาน ซึ่งการเคลือบเนื้องานนั้นจะใช้สารที่ผสมระหว่าง ซิลิเกต กับน้ำยาเคลือบ ซึ่งมีความละเอียดมากกว่าดินหลายเท่า การเคลือบเนื้องานนั้นจะมีการนำมาเคลือบให้มีความหนาประมาณ 1-1.5 มิลลลิเมตร จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการทิ้งให้สารเคลือบแห้ง แล้วจึงจะเป็นการเช็ดอีกครั้ง ก่อนนำเข้าเตาเผาอีกรอบ
  3. การเผาครั้งที่สอง เป็นกระบวนการเพิ่มความแข็งแรง ให้กับส่วนที่เป็นเนื้อเคลือบ ทั้งนี้เมื่อมีการเผาด้วยอุณหภูมิ ที่มีความร้อนสูง สารเคลือบก็จะทำปฏิกิริยากับความร้อนจนเกิดเป็นเนื้อผิวที่มีความมันวาว และเกาะแน่นกับเนื้องาน ซึ่งประโยชน์ของการเคลือยก็คือช่วยเพิ่มความแข็งแรง แก่เนื้องานทำให้เนื้องานไม่แตกหัก หรือบิ่นได้ง่าย นอกจากนั้นยังมีประโยชน์ ต่อการทำความสะอาดเนื้องาน ได้มากกว่างานที่ไม่ทำการเคลือบ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ ที่เป็นภาชนะ ที่ต้องมีการทำความสะอาดอยู่ตลอด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.ceramiclover.com

เรื่องนี้ถูกเขียนใน ไม่มีหมวดหมู่ และติดป้ายกำกับ , , , , , คั่นหน้า ลิงก์ถาวร